เรื่องแปลก ๆ ของกฎหมายในประเทศอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับความรัก

...

ในช่วงที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญไทยเพิ่งจะตัดสินว่าการห้ามไม่ให้คนเพศเดียวกันสมรสกันนั้นไม่ได้ผิดหลักของรัฐธรรมนูญ เรามาดูกันดีกว่าว่าในประเทศแถบอาเซียนที่เป็นเพื่อนบ้านเรานั้น มีประเทศใดบ้างที่มีกฎหมายเกี่ยวกับความรักแบบที่เราไม่ค่อยคุ้นชินนัก

กฎหมายการสมรสแบบอิสลาม: สามี 1 ภรรยา 4

ด้วยความเคยชินที่เราอยู่เมืองพุทธมานาน ทำให้เรายึดว่าการสมรสคือต้องเป็นชาย 1 หญิง 1 เท่านั้น (ยกเว้นใครบางคน) แต่สำหรับประเทศมุสลิม อย่างเช่นมาเลเซียและอินโดนีเซียนั้น การสมรสแบบสามี 1 คนสามารถมีภรรยาได้ 4 คนตามหลักของศาสนาอิสลามนั้นถือเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายอยู่ในปัจจุบัน

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ความ practical ของกฎหมายนี้ก็ค่อย ๆ จางลงไปตามยุคสมัยปัจจุบันที่คนรุ่นใหม่เริ่มไม่เห็นด้วยกับความสัมพันธ์แบบ polygamy (ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง)

จากบทสัมภาษณ์ของคนบนท้องถนนในย่านจาการ์ตาของอินโดนีเซีย ของช่อง YouTube ของ Asian Boss (คลิป) คนที่อยู่ในช่วง Gen Y ลงไปต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่าในปัจจุบันการมีภรรยาหลายคนพร้อมกันสำหรับฝ่ายชายนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถูกยอมรับเท่าไหร่นัก ในขณะที่ช่วงอายุวัยทองขึ้นไปจะเล่าให้ฟังถึงคนรู้จักซึ่ง practice การมีภรรยาหลายคนบ้าง แต่ก็เป็นคนที่แก่แล้วเท่านั้นที่ยัง practice เรื่องเหล่านั้นอยู่

กฎหมายการสมรสของศาสนาคริสต์แบบเคร่ง: แต่งแล้วห้ามหย่า

ฟิลิปปินส์นั้นเป็นหนึ่งในสองประเทศบนโลกที่มีกฎหมายว่าแต่งแล้วห้ามหย่า (อีกประเทศคือนครรัฐวาติกัน)

การหย่าในทางคริสตจักร โดยเฉพาะในคริสต์คาทอลิกต้นฉบับนั้น การหย่าถือเป็นบาปอย่างหนึ่ง กฎหมายของฟิลิปปินส์นั้นอนุญาตให้คนที่นับถือศาสนาอื่นหย่าเท่านั้น (เช่น อิสลาม) แต่หากคนที่นับถือศาสนาคริสต์ต้องการหย่านั้นจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าการแต่งงานนั้นไม่ได้เกิดขึ้นอย่างถูกต้องตั้งแต่แรก โดยวิธีการที่ทนายมักจะแนะนำให้โจทก์ที่ต้องการหย่านั้นทำ เช่น การแสร้งว่าเป็นบ้า หรือการใส่ร้ายคู่สมรสอีกคนหนึ่งว่าได้กระทำรุนแรงต่อครอบครัว แต่หลายครั้งการกระทำดังกล่าวก็ไม่สัมฤทธิ์ผล

อีกทั้งการฟ้องหย่าแต่ละครั้งก็ใช้เงินจำนวนมากเพื่อที่จะจ้างทนายให้เคสการหย่านั้นสำเร็จ และการหย่าในแต่ละครั้งก็ใช้เวลานานแรมหลายสิบปี ที่พิเศษมากคือกระบวนการทางยุติธรรมสำหรับการหย่านั้นจำเป็นต้องมีบาทหลวงเข้ามาเกี่ยวข้องกับคดีด้วย ทำให้เรื่องการหย่านั้นดูเป็นเรื่องทางศาสนา (ecclesiastic) มากกว่าทางฆราวาส (secular)

ในปัจจุบันไม่นานมานี้ (ปี 2020) ฝ่ายนิติบัญญัติของฟิลิปปินส์ก็ได้ผ่านร่างกฎหมายการอนุญาตให้หย่าร้างได้ โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ (unanimously)

กฎหมาย 377A ของสิงคโปร์ ว่าด้วยการห้ามมีเพศสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายกันเอง

ในกฎหมายของสิงคโปร์นั้นมีบทบัญญัติข้อหนึ่งอย่างชัดเจนในเรื่องการห้ามมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชาย - ชาย โดยระบุไว้ในข้อกฎหมายว่า “การกระทำแบบร่วมเพศ หรือการพยายามร่วมเพศ หรือการกระทำอันเป็นที่น่ารังเกียจของเพศชายด้วยกัน ไม่ว่าจะในที่ลับตาหรือในที่สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี”

ในระหว่างปี 2007-2013 ข้อกฎหมายดังกล่าวถูกนำใช้ลงโทษประชาคนถึงเก้าคน

แม้ว่าในปัจจุบันฝ่ายนิติบัญญัติของสิงคโปร์จะอ้างว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นแทบไม่มีการบังคับใช้อีกแล้ว แต่การที่ยังมีกฎหมายข้อนั้นเขียนอยู่ในกฎหมายนั้นทำให้มีความพยายามหลายครั้งที่จะแก้กฎหมายดังกล่าว การฟ้องเรื่องนี้เข้าสู่ศาลสูงมีมากถึงสามครั้งในปี 2018, 2018 และ 2019 แต่ศาลกลับยกฟ้องทั้งสามคำร้องในปี 2020

แม้ว่าสิงคโปร์จะเป็นประเทศที่พัฒนาอย่างมากในเรื่องเทคโนโลยี แต่ดูเหมือนว่าฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงฝ่ายบริหารของประเทศนั้นยังค่อนข้างที่จะมองกลุ่ม LGBT ในทางด้านลบ

การแต่งงาน เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของความรักนั้น

เรื่องของการแต่งงานนั้นถือเป็นพิธีกรรมที่มีมาแต่ช้านาน ธรรมเนียมในการปฏิบัติจึงเปลี่ยนไปตามยุคและสมัย ในสมัยก่อนการที่จะจำเป็นต้องเลี้ยงดูผู้หญิงจำนวนมากและการเพิ่มจำนวนบุตรก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ศาสนาอิสลามนั้นสามารถให้เพศชายมีภรรยามากกว่าหนึ่งคนได้ แต่ต้องคำนึงถึงความพร้อมในการเลี้ยงดู หรือแม้กระทั่งของศาสนาคริสต์ที่ห้ามการหย่านั้นก็แสดงให้เห็นถึงคุณค่าของการแต่งงานและความรักที่ไม่ควรจะกระทำด้วยความชั่ววูบเพียงอย่างเดียว

แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป การรักษาธรรมเนียมประเพณีผ่านเครื่องมือที่เรียกว่า “กฎหมาย” ก็ควรจะเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะผ่านกระบวนการที่เป็นทางการ (เช่น การผ่านร่างกฎหมายอนุญาตให้หย่าร้างของฟิลิปปินส์) หรือกระบวนการที่ไม่เป็นทางการ (เช่น การเริ่มเสื่อมความนิยมในการมีหลายภรรยาของคนมุสลิมรุ่นใหม่ หรือการเลิกบังคับใช้แบบไม่เป็นทางการของกฎหมาย 377A ของสิงคโปร์) แต่ไม่ว่าอย่างไร ทุกอย่างก็เป็นไปตามยุคสมัยเช่นนั้น

การแต่งงาน เป็นเครื่องมือทางกฎหมายที่ทำให้ความรักราบรื่น

ปัจจุบันกฎหมายเรื่องคู่สมรสของประเทศไทยอยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การกระทำทางการสมรสนั้นจึงถูกยึดโยงไปถึงเรื่องอื่นอีกจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับสิทธิประโยชน์ของผู้สมรส ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพินัยกรรมและมรดก เรื่องบุตรบุญธรรม เรื่องสินสมรส ฯลฯ การที่คนไทยบางส่วนมีรสนิยมความรักแบบเพศเดียวกันมากขึ้นจึงควรที่จะมีกฎหมายสมรสมารองรับ

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ (แม้ว่าจะไม่ได้ระบุในรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง แต่ก็ค่อนข้างที่จะ de facto) ซึ่งเป็นศาสนาที่ไม่ได้กล่าวร้ายถึงรสนิยมรักร่วมเพศเหมือนกับทางคริสต์และอิสลามอย่างชัดแจ้ง เพราะฉะนั้นอุปสรรคทางศาสนาของคนรักเพศเดียวกันจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีมากนักในสังคมไทย เหลือเพียงแค่เรื่องทางกฎหมายเท่านั้นที่ถ้าหากว่ามีแล้วจะทำให้สิทธิของคนรักเพศเดียวกันนั้นเพิ่มขึ้น

ในยุคสมัยที่วัฒนธรรมในสังคมไทยเปลี่ยนไป การยอมรับคนรักเพศเดียวกันในสังคมเพิ่มมากขึ้น ถึงแม้ว่าในตอนนี้กระบวนการทางนิติบัญญัติจะยังไม่เอื้อให้เกิดกฎหมายดังกล่าวก็ตาม แต่เราก็มีความหวังว่า กฎหมายของเรานั้นคงจะต้องเปลี่ยนไปตามรูปแบบของสังคมในอนาคต ไม่ได้ทันทานกระแสดังกล่าวนั้นอย่างที่นักกฎหมายปัจจุบันได้ทำอยู่

Nutchanon J's Stories

รวมบทความของนิสิตคณะวิศวะฯ คนหนึ่งในจุฬา ที่เรียนภาคไฟฟ้า

Powered by Bootstrap 4 Github Pages