Table of Content
ถ้าไปเรียนอเมริกาแล้วไม่ยอมจ่ายหนี้ กยศ. (ของอเมริกา) จะเกิดอะไรขึ้น
Table of Content
ถ้าเลยไป 90 วัน เครดิตของผู้นั้นจะเสีย นั่นหมายความว่าจะกู้เงินยากขึ้น, สมัครงานยากขึ้น, ทำบัตรเครดิตยากขึ้น, การใช้สาธารณูปโภคต่าง ๆ อาจต้องวาดเงินมัดจำก่อน, ฯลฯ
ถ้าเลยไป 270 วัน หนี้นัดจะกลายเป็นหนี้ผิดนัดชำระ (default) เจ้าหนี้จะเริ่มให้ผู้ติดตามทวงหนี้ทำหน้าที่ทวงหนี้อย่างหนักหน่วง (โดยจะต้องไม่ละเมิดกฎหมายการทวงหนี้ (Fair Debt Collection Practices Act))
ถ้าปล่อยจนนานแรมปี จนกระทั่งเรื่องถึงรัฐบาลกลางสหรัฐฯ รัฐบาลสามารถเรียกเก็บหนี้ได้ผ่านสิทธิการเรียกคืนภาษี หรืออาจเก็บโดยแจ้งผ่านผู้จ้างงานเลยก็เป็นได้
ความจริงแล้วรัฐบาลสหรัฐมีหลายโครงการที่ช่วยผ่อนหนักในเป็นเบาในเรื่องหนี้การศึกษานี้ แต่โครงการต่าง ๆ จะไม่ช่วยเลยถ้าปล่อยให้หนี้กลายเป็นหนี้ผิดนัดชำระ
เคสที่หนักที่สุดในวงการค้างหนี้การศึกษา น่าจะเป็นเคสของ Paul Aker ซึ่งค้างหนี้มานานถึง 29 ปี โดยในปี 2012 ศาลได้เรียกตัวชายคนนี้เข้าสู่การพิจารณาคดี แต่เหมือนว่าเขาจะไม่ได้รับโทรศัพท์ ด้วยความพยายามติดต่อหลายครั้งแต่ไม่เป็นผล ศาลจึงออกหมายจับชายคนนี้ จนทหารสหรัฐพร้อมด้วยกำลังตำรวจเข้าไปรวบตัวเขาในปี 2016 ด้วยเหตุที่เขาค้างเงินอยู่ประมาณ 1500 ดอลลาร์ (45000 บาท)
โดยเขาได้อ้างว่าเขาคิดว่าจ่ายหนี้การศึกษาไปทั้งหมดแล้ว ไม่ว่าอย่างไรก็ตามด้วยความที่ค้างหนี้มานานถึง 29 ปี ทำให้ดอกเบี้ยล้นเงินต้นไปจนหนี้พอกมาเป็น 5700 ดอลลาร์ (190000 บาท)
ในสมัยของรัฐบาลไบเดน ได้มีการออกมาตรการช่วยเหลือหนี้การศึกษาหลายมาตรการ หนึ่งในนั้นเช่นการให้ผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 25000 ดอลลาร์ต่อปี ยังไม่ต้องจ่ายหนี้การเรียน (เทียบเงินเดือนว่าเยอะหรือน้อย ลองเทียบกับค่าครองชีพใน San Francisco ที่อยู่ประมาณ 2000 ดอลลาร์ต่อเดือน) ถ้าเงินเดือนเกินกว่า 25000 ดอลลาร์ต่อปี ให้เอาส่วนที่เกินมาไปจ่ายค่าหนี้การศึกษาเป็นร้อยละ 5 และถ้าจ่ายแบบนี้อย่างมีวินัยต่อเนื่อง 20 ปีแล้ว ให้หนี้ที่ค้างอยู่ทั้งหมดสูญไป
ปัจจุบันในอเมริกามีผู้ติดหนี้การศึกษามากถึง 43.2 ล้านคน และในกลุ่มคนเหล่านั้น มีหนี้การศึกษาโดยเฉลี่ยต่อคนมากถึงเกือบ 40000 ดอลลาร์สหรัฐ (1.3 ล้านบาท)
ที่มา:
What Happens if You Don’t Pay Your Student Loans?
รูปภาพจากบทความนี้