Table of Content
เรื่องของความเหลื่อมล้ำ
Table of Content
เราสามารถโทษคนอื่นที่ยากจนได้ว่าเขาอาจจะมีความพยายามไม่มากพอ หรือเปล่า
เรื่องของความเหลื่อมล้ำทางสังคมหรือเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่วัดได้อย่างไร เราอาจจะบอกว่าความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะหมดไป หากทุกคนในสังคมมีสินทรัพย์เท่ากัน (แนวทางของคอมมิวนิสต์) ซึ่งแน่นอนว่าคงจะเป็นไปไม่ได้ แต่กราฟที่ได้มาจะคล้าย ๆ กับ delta function
ในทางคณิตศาสตร์จะวัดความเหลื่อมล้ำได้อย่างไร ให้ไปดูกราฟของ Pareto distribution ซึ่งดูว่ากราฟที่วัดได้จริง ๆ ออกมาว่าเบี่ยงเบนกับเส้นตรง delta นั้นมากแค่ไหน
คำพูดที่ว่าคนรวยก็จะรวยค้างฟ้า ส่วนคนจนก็จะจนชั่วลูกชั่วหลาน คงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลนัก เราอาจบอกว่าสังคมที่ยุติธรรมสำหรับประชาชน คือการที่ประชาชนมีสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงชนชั้นของตนเองในทางที่ดีขึ้น
ประเทศที่เริ่มพัฒนา จะพัฒนามาจากเรื่องของอุตสาหกรรมเป็นหลัก หากไม่ลงทุนในประเทศตนเอง ก็อาจเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ เมื่อมีโรงงานมาตั้ง ของทุกอย่างก็ต้องเพรียบพร้อม ทั้งเรื่องของการขนส่ง สาธารณูปโภคพื้นฐาน สถาบันการเงิน ฯลฯ จะเห็นได้ว่าการเริ่มต้นอุตสาหกรรมทำให้เกิดงานขึ้นมาใหม่เป็นจำนวนมาก
ปัญหาของประเทศที่เพิ่งจะเริ่มพัฒนา อาจรวมถึงประเทศไทยด้วยนั้น คือเรื่องที่ว่าเราเคยมีความคิดทางเศรษฐศาสตร์อย่างดั้งเดิม ว่าเราควรให้มีคนรวยเกิดขึ้นมาสักกลุ่มหนึ่งในประเทศก่อน คนที่เริ่มนำธุรกิจของประเทศ หลังจากนั้นเงินจะไหลลงมาหาคนที่อยู่ชนชั้นล่างลงมาเอง ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จของประเทศไทยในช่วงเริ่มต้นของการก่อตั้งเขตเศรษฐกิจ ในแง่ของการเพิ่มรายได้ของประชาชนเมื่อมองจาก gdp per capita เราประสบความสำเร็จในเรื่องนี้อย่างปฏิเสธไม่ได้ (หากใครต้องการฟังความผิดพลาดของแนวคิดนี้เพิ่ม ให้ไปฟังตอนที่ ดร.กอบศักดิ์ คุยกับสุทธิชัย หยุ่นใน youtube)
แต่เมื่อสังคมและเศรษฐกิจของเราไปได้ถึงะระยะหนึ่ง แรงจากกลไกเดิมเริ่มหมดลง เรายังมีปัญหาทางโครงสร้างหลายอย่างที่ยังทิ้งเอาไว้ เหมือนกับการวิ่งเร็วจนลืมอะไรบางอย่าง ทั้งความเข้มแข็งของชุมชนชนบท รวมถึงความเข้มแข็งทางทักษะพื้นฐานในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมถึงความเข้มแข็งทางการศึกษา
ประเทศไทยอาจจะมาถูกทางในช่วงเวลาที่ผ่านมา แต่อาจมาถูกทางไม่พอ เราอาจพยายามน้อยเกินไป หรือมีปัญหาตั้งแต่ในระดับการเมือง หรืออย่างไรก็ตาม อาจเป็นเรื่องที่ว่าเรายังล้มเหลวในการให้โอกาสให้กับคนระดับล่างที่จะทำให้พวกเขาสามารถเปลี่ยนชนชั้นทางสังคมได้
เคยมี Ted talk หนึ่งที่ผู้เขียนเคยฟัง เป็นเรื่องของความดีงามของรัฐสวัสดิการ ผู้พูดอ้างด้วยงานวิจัยที่ทำมาว่าการเปลี่ยนรัฐจากรัฐสวัสดิการทำให้ประชาชนสามารถมีโอกาสที่จะเปลี่ยนชนชั้นทางสังคมได้ง่ายขึ้น ทำให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมลดลงอย่างมีนัยสำคัญ
เราอาจจะทำให้เรื่องของรัฐสวัสดิการได้ไม่สำเร็จภายในระยะเวลาชั่วครู่อย่างแน่นอน และผู้เขียนเองก็นึกภาพไม่ออกด้วยซ้ำว่าเราจะกลายเป็นรัฐสวัสดิการได้อย่างไรในระบบการเมืองที่เอื้อต่อคอร์รัปชันหรือทหารมากขนาดนี้ แต่ผู้เขียนคิดว่าในช่วงที่เรายังคงไม่มีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความสามารถในการเปลี่ยนชนชั้นของคน เราควรจะทำอย่างไร
การแจกเงินน่าจะเป็นเรื่องล้าสมัยไปแล้ว การยื่นมือเข้าไปช่วยประชาชนกลายเป็นสิ่งที่มีดาบสองคมเสมอมา หากใครเคยทำงานเกี่ยวกับด้านประชาสังคมหรือเกี่ยวกับการช่วยเหลือสังคมน่าจะเคยได้ยินแล้วว่า การยื่นของเข้าไปช่วยเหลือเป็นสิ่งที่อาจทำให้เกิด unintended consequences ขึ้นมาอย่างเยอะมาก ๆ แต่หากเราสามารถ empower ประชาชนให้สามารถทำบางสิ่งบางอย่างได้ คือสนับสนุนเขาหากเขาต้องการทำอะไรจริง ๆ จะทำให้ผลที่ได้มีความยั่งยืนกว่ามาก
การ empower คนอาจไม่ใช่เรื่องที่แค่โยนเงินแล้วจบ มันอาจจะเป็นเรื่องของการพัฒนาระบบขนส่งให้ดีขึ้น มันอาจจะเป็นเรื่องของการพัฒนาการศึกษาให้ดีสำหรับทุกคน มันอาจเป็นเรื่องของการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสอบถามประชาชนจริง ๆ ว่าพวกเขาอยากได้อะไรกันแน่
เรื่องของการให้เงินหรือให้อะไรบางอย่างแล้วล้มเหลวนั้น ผู้เขียนหากให้ผู้อ่านไปลองดูต่อในเรื่องของตอนที่สหรัฐอเมริกาไปช่วยอัฟการ์นิสถานในการสู้รบและพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งช่วงนั้นทำให้เกิด unintended consequences ขึ้นมาอย่างเยอะมาก (หลังปีใหม่อาจจะกลับมาเขียนเรื่องนี้)
เรื่องของความเหลื่อมล้ำยังเป็นเรื่องที่แก้ได้ยาก แม้แต่เขียนมาขนาดนี้ ผู้เขียนก็ต้องยอมรับว่ายังไม่ได้เขียนการแก้ปัญหาให้อ่านเลย ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เรื่องนี้คงต้องคิดกันไปเรื่อย ๆ ห้ามหยุด เพราะความเท่าเทียมกันของคนในสังคม จะทำให้ประเทศของเรามีความสงบสุขอย่างแท้จริง