Table of Content
รีวิว เรียนจีนเตรียมไปไต้หวัน หนึ่งเดือนครึ่ง
Table of Content
ตอนนี้เรียนจากสองแหล่ง คือ
- เรียนกับคณะอักษร จุฬา นอกเวลา เรียนจีนหนึ่งเลย (ตอนนั้นตัดสินใจเรียนวันเสาร์เพราะกลัวว่าวันทำงานจะไม่ค่อยว่างเพราะเรียนหนัก แต่ตอนนี้สถานการณ์กลับตาลปัตรละ) อาจารย์ 老師 ที่มาสอนเขียนเป็นทั้งจีนแบบเต็มกับแบบย่อ แต่สอนแบบย่อเพราะแบบย่อเป็น standard ตอนเรียนเราเลยต้องเขียนตัวเต็มกำกับคู้กับตัวย่อไว้ด้วย อาจารย์มาให้กำลังใจว่า ตอนสมัยเรียนอาจารย์ก็เริ่มจากแบบเต็มมาก่อน (ปล. ไต้หวัน ฮ่องกง มาเก๊ายังใช้จีนตัวเต็ม)
- เรียนเองจาก huayuworld มี textbooks ฟรี เป็น pdf แบบจัดเต็ม (20 เล่ม !!!) เป็นหนังสือที่เอาไว้เรียนเพื่อไปไต้หวันโดยเฉพาะเลย เน้นจีนตัวเต็ม มีจีนตัวย่อกำกับด้วย ละก็มีพินอิน + zhuyin กำกับทุกตัวอักษร
ความยากลำบากของการเรียนจีนที่แตกต่างจากตอนเรียนภาษาญี่ปุ่น คือ
- ภาษาญี่ปุ่นยังมี hiragana กับ katakana มาช่วยแบ่งคำ ว่าคำแต่ละคำแยกกันยังไง แต่จีนเขียนติดกันเป็นพรืด เลยแยกตัวจีนบางตัวไม่ออกว่าตัวไหนอยู่กับคำไหน แต่ตอนนี้เริ่มปรับตัวได้ละ เมื่อก่อนดูประโยคแล้วไม่ชินเลยรู้สึกเหมือนอะไรไม่รู้มาอยู่ติดกันเป็นพรืด
- ตัวจีนตัวเต็มโคตรยาก ยากมาก ตัวไม่เป็นระเบียบเหมือนคันจิ
ความง่ายของภาษาจีนเทียบกับญี่ปุ่น
- แกรมม่ากากมาก เรียนง่าย
- ตัวอักษรจีนเกือบทั้งหมดอ่านได้แค่แบบเดียว ถ้าต่างกันก็ต่างกันแค่โทนเสียง วรรณยุกต์ที่ต่างกันถ้าอยู่ในคำที่ต่างกัน
เทียบ จีนตัวเต็ม ตัวย่อ กับคันจิ
- คันจิสวยสุด (คันจิเป็นจีนที่ย่อจากจีนตัวเต็มอีกที) รู้สึกว่าการย่อแบบคันจิเป็นการย่อที่คำนึงถึงการจัดระเบียบ radical เป็น block แล้วตัวสวยขึ้น จำง่าย เขียนสวย ไม่ดูเป็นสัตว์ประหลาดเหมือนจีนตัวเต็ม
- จีนตัวย่อ บางตัวย่อเยอะจนงง ย่ออะไรขนาดนั้น ส่วนบางตัวที่ควรย่อก็ไม่ย่อ ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ไม่เหลือความสวยของตัวอักษรจีนใด ๆ ย่อจนจำยาก