Table of Content
ขอเล่าเรื่องตอนบวชนิดนึง
Table of Content
ช่วงที่บวชอยู่สัปดาห์แรก จะเป็นช่วงที่มีอุบาสิกามาอยู่ปฏิบัติธรรมที่วัดด้วย
ช่วงนั้นจะแอบอึดอัดนิดหน่อย เพราะว่าทุกครั้งที่จะเดิน เช่น กวาดลานวัด ถ้าบังเอิญเดินทางเดียวกับอุบาสิกาพอดี อุบาสิกาจะหยุดให้พระเดินก่อน
เรื่องนี้ความจริงก็อึดอัดบ้าง เพราะเราก็อายุน้อย แต่ส่วนใหญ่อุบาสิกาที่มาปฏิบัติธรรมด้วยจะอายุมากแล้ว (ทุกคนน่าจะแก่ประมาณห้าสิบกว่า) บางทีก็หยุดทั้งคู่ไม่มีใครยอมเดินก่อน
ความจริงแล้วเรื่องที่อุบาสิกาจะต้องเกรงใจพระในการทำอะไรต่าง ๆ ก็ไม่ได้มีพระท่านไหนที่ออกมาเน้นเรื่องนี้เลย แต่เป็นสิ่งที่กลุ่มของอุบาสิกาเขาคุมระเบียบกันเอง
ถ้าจะยกตัวอย่างเหตุการณ์ก็เช่น มีวันหนึ่งที่ต้องถ่ายรูปหมู่พระสงฆ์ร่วมกับอุบาสิกา มีอุบาสิกาท่านหนึ่งเหมือนจะเข้าไปที่ถ่ายรูปก่อนพระ อุกาสิกาที่เป็นเพื่อนอีกคนรีบเตือนว่าให้พระเข้าไปก่อน
หรือตอนที่ตักอาหาร มีวันหนึ่งที่พระยังตักอาหารไม่เสร็จแล้วอุบาสิกาจะเข้าไปตักต่อ ก็มีอุกาสิกาที่เป็นเพื่อนอีกคนรีบเตือนว่าให้พระตักให้เสร็จก่อน
เอาว่า ความจริงแล้วถ้ามองในมุมของฆราวาสเข้ามา มันก็นับเป็นเรื่องของ power dynamics ในสังคมของวัดอย่างหนึ่ง ว่าพระสงฆ์มาก่อน คนอื่นในวัดมาทีหลัง
แต่ก็สังเกตเหมือนกันว่า กลุ่มของอุบาสิกาเป็นกลุ่มที่ยอมรับในกฎแบบนี้เอง พระไม่ได้เน้นเรื่องนี้เลย
เพราะมีวันหนึ่งเหมือนกันที่มีอุบาสิกาท่านหนึ่งเดินตัดหน้าพระ แต่ตอนนั้นไม่มีอุบาสิกาท่านอื่นอยู่ เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้มีใครว่าอะไร เพราะพระเองก็ไม่ได้อะไร
ถ้าจะเปรียบเทียบกับสังคมไทยตอนนี้ ก็เลยค้นพบสัจธรรมอย่างหนึ่งว่า
สังคมที่แบ่งชนชั้นอย่างชัดเจน การมีอยู่ของชนชั้น คือเรากดกันเองนี่แหละ
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสถาบันเอย ฯลฯ คนที่ตัดสินความผิดก็เป็นศาล ศาลก็เป็นประชาชน
ถ้าศาลตัดสินไปอีกทางก็ย่อมได้ แต่ศาลไม่ทำ
กฎหมาย คนที่จะตั้งขึ้นหรือล้มลง ก็เป็นสภา สภามาจากประชาชน
ก็ขอเขียนสั้น ๆ ไว้เท่านี้ละกัน 。