Table of Content

ว่าด้วยเรื่องของแสตนเชียร์

Table of Content

...

ช่วงนี้มีคนพูดถึงเรื่องสแตนด์เชียร์เยอะ เอาว่าขอพูดในมุมส่วนตัวของเราสั้น ๆ ละกัน

ช่วงที่เรียนอยู่โรงเรียน เคยถูกเกณฑ์ไปเป็นสแตนด์แค่ปีเดียวคือตอน ม.4 ช่วงที่อยู่ MWIT (งงมากว่าเราสามารถรอดจากการเป็นสแตนด์ช่วงประถมถึงม.ต้น ตอนที่อยู่สาธิตได้ยังไง) ตอนนั้นจำได้ว่าที่ตัวเองไปเป็นเพราะไม่ได้เล่นกีฬา ไม่ได้เป็นหลีด ไม่ได้เป็นตากล้อง หน้าที่เดียวที่เหลืออยู่จึงเป็นสแตนด์ ความจริงเกือบได้เป็นหลีดแล้ว แต่คัดรอบสุดท้ายละไม่ได้ ละก็ดีใจมากที่ไม่ได้เป็น เพราะเห็นเพื่อนซ้อมหนักมาก 555

เรื่องของการซ้อมสแตนด์ ตอนนั้นจำได้ว่ามีเรื่องร้อนใจสามอย่าง คือหนึ่ง ร้อน สอง ยุงเยอะ และสาม นั่งเมื่อยมาก (ตัวเองเกลียดการนัดขัดสมาธินาน ๆ อยู่แล้ว) ส่วนรุ่นพี่ที่มาซ้อม จำได้ว่าตอนนั้นก็เป็นรุ่นพี่ที่ดีหมดเลย จำได้ว่ามีพี่มอธ มีพี่ อ่ะจำไม่ได้ละลืม 555 แต่ยังจำหน้าได้อยู่บ้าง ก็คิดว่าถ้าตอนนั้นรุ่นพี่ไม่ได้ทรีทเราดีจริง ๆ เขาคงไม่สามารถรักษาเด็กให้มาซ้อมเยอะขนาดนี้เป็นเวลาหนึ่งเดือน ทุกเย็น

ส่วนวันจริง เราจำได้ว่ามันสนุกนะ มันอาจจะเป็นเพราะตอนนั้นรุ่นพี่ทุกคนแม่งเฮฮา สปิริตมามาก ๆ เอาจริงคือสีสันมาจากรุ่นพี่ที่เต้นแร้งเต้นกาข้างล่างอ่ะ แต่เรื่องดราม่าหลังกีฬาสีขอไม่พูดถึงละกัน 555 ส่วนตัว เรารู้สึกว่าว่าตัดเรื่องว่าจะต้องมาซีเรียสเรื่องแพ้ชนะของสแตนด์ ของหลีด ละก็ของละครกีฬาสีออกไป (เมื่อก่อนมีละครกีฬาสี MWIT นะคะ) กีฬาสีที่โรงเรียนคงจะสนุกกว่านี้มาก เพราะไม่ต้องมีเรื่องให้เครียดให้ปวดหัว

เวลาผ่านไป จำได้ว่ากลับไปโรงเรียนอีกครั้งตอนขึ้นมหาลัยปีหนึ่ง กลับไปตอนงานกีฬาสีนั่นแหละ เชื่อไหมว่า เพียงแค่ปีเดียวที่ออกมาจากรั้วโรงเรียนประจำครั้งนั้น มุมมองที่มองย้อนกลับเข้ามาที่โรงเรียนเปลี่ยนไปเยอะมาก มันมีความรู้สึกที่ว่า แม่ง ตอนนั้นทำไมทุกคนดูจริงจังกับกีฬาสีสุด ๆ เลยวะ ทั้ง ๆ ที่จริงแล้ว โรงเรียนมันก็มีแค่ 720 คน คนนอกไม่ได้มาดูด้วยซ้ำ คนดูคนชมก็เพื่อน รุ่นพี่รุ่นน้อง อาจารย์ ผู้ปกครองกันเอง ตอนดูสแตนด์ ดูหลีด ดูบอลคู่ท้าชิง ที่ตอนสมัย ม.ปลาย รู้สึกว่ายิ่งใหญ่มาก พอกลับมาในฐานะเด็กมหาลัย ก็รู้สึกว่า เหมือนดูเด็ก ม.ปลาย เล่นกัน แล้วเมื่อก่อนตอนตรูอยู่ ม.ปลาย มันจะจริงจังขนาดนี้ไปทำไมวะ 555

กลับมาที่เรื่องสแตนด์อีกรอบ ความจริงเคยมีโอกาสถามรุ่นพี่รุ่นเดอะของจุฬา ที่แก่กว่าประมาณสิบปีเหมือนกัน ว่าเมื่อก่อนทำไมคนถึงขึ้นสแตนด์กันเยอะมาก แบบสมัครใจ แบบไม่ต้องบังคับ เพราะปีสุดท้ายที่กีฬาจุฬา มธ. จัด ก็มีปัญหาเหมือนกับกีฬาของจตุรมิตรปีนี้ คือคนขึ้นสแตนด์ไม่พอ ตอนนั้นจำได้ว่าพี่เขาตอบได้น่าสนใจ คือ ปีนั้นเป็นปีที่ฟาโรส (ชาวช่องนั่นล่ะค่ะ) เป็นประธานเชียร์ ละเป็นปีที่ประธานเชียร์ดีมาก คนให้ความร่วมมือ ตอนนั้นก็ไม่ได้ถามอะไรต่อ เพราะว่าตอนนั้นไม่ได้สงสัยมาก แต่ความจริงก็แอบคิดในใจว่า ถ้าพี่ฟาโรสไม่ได้เก่งจริง คงไม่ได้ทำช่องยูทูปมาไกลเท่านี้ 555 ละปีต่อมาก็เป็นพี่เบบี้มายด์ ซึ่งคนก็ขึ้นสแตนด์เยอะเหมือนกัน อันนี้ฟังแบบคร่าว ๆ จำผิดจำถูกขออภัย

สรุป เรื่องของสแตนด์ที่ตัวเองตกผลึกว่ามันจะทำสำเร็จหรือไม่สำเร็จ เราว่ามันมีอยู่สองเหตุผล

เหตุผลที่ควบคุมได้ คือ เรื่องประธานเชียร์นี่แหละว่าจะปลุกปั่นความรู้สึกรักโรงเรียน รักมหาวิทยาลัย รักคณะได้มากแค่ไหน หรือจะสามารถโน้มน้าวให้คนมาร่วม มาซ้อมกันได้ยังไง จะบังคับหรือจะสร้างจิตสำนึกอะไรก็แล้วแต่ ละพอคนมาซ้อมแล้ว จะมีวิธีจัดการยังไง มีร่มให้น้องไหม จัดอาหาร จัดคิวเข้าห้องน้ำ ซ้อมดึกไปหรือเปล่า กระทบการเรียนของเด็กไหม ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่คิดว่าไม่น่ายากเกินความสามารถของเด็กที่อุตส่าห์สอบเข้าโรงเรียนหนึ่งในสี่นั้นได้

เหตุผลที่ควบคุมไม่ได้ คือ ความเป็นปักเจกของคนยุคปัจจุบัน (individualism) ที่เพิ่มขึ้นมาก เป็นความรู้สึกส่วนตัวที่คิดมานานแล้ว และรู้สึกมาก ๆ จากคณะตัวเองที่เพิ่งเรียนจบมา คือ ความรู้สึกในฐานะ “ส่วนหนึ่ง” ของโรงเรียนหรือคณะ หรือมหาวิทยาลัยมันไม่ได้เหมือนคนรุ่นผู้ใหญ่ เรามีจุดร่วมกันที่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ (เช่น สแตนด์ หรือการรับน้อง) แต่เป็นจุดร่วมทางผลประโยชน์ (เช่น ฉันไปแข่งขันให้คุณ คุณกับฉันได้ชื่อเสียงพร้อมกัน ฯลฯ) หรืออื่น ๆ หรือพูดอีกแบบคือ ฉันไม่จำเป็นต้องบอกว่าฉันรักโรงเรียนโดยการไปขึ้นสแตนด์ของรุ่นพี่ หรือความจริงฉันไม่รู้ด้วยซ้ำว่าฉันรักโรงเรียนไหม (เราเข้าใจความรู้สึกนี้นะ) ละความ individualism มันมาเพิ่มขึ้นมากหลังโควิด

โดยสรุป เรื่องนี้คิดว่าแก้ปัญหาได้ ถ้าใช้สมองลองคิดจริง ๆ หรือจะยุบสแตนด์ไปเลยคงมีคนบางคนว่านิดหน่อย หรือไม่ก็เกณฑ์ศิษย์เก่าที่รักสแตนด์นักหนาให้มาช่วยถือป้าย.

Nutchanon J's Stories

รวมบทความของนิสิตคณะวิศวะฯ คนหนึ่งในจุฬา ที่เรียนภาคไฟฟ้า

Powered by Bootstrap 4 Github Pages